ประกาศ

บล็อกนี้เป็นเว็บไซต์สำหรับการศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

WTO คืออะไร

WTO คืออะไร


            องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มีพัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) เมื่อปี พ.ศ. 2490  ซึ่งขณะนั้น ยังไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยสิ้นสุดลง และผลการเจรจาส่วนหนึ่งคือ การก่อตั้ง WTO ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ และมีที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์

          ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2538 เป็นสมาชิกลำดับที่ 59 มีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง ขณะนี้ มีประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ที่สำคัญ เช่น รัสเซีย เวียดนาม ลาว มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก WTO ด้วยกันคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของการค้าโลก และการขยายตัวของจำนวนสมาชิกจะมีผลให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบัน (ณ เดือนมกราคม 2549) WTO มีสมาชิกอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 149 ประเทศ สมาชิกล่าสุดประกอบด้วย เนปาล กัมพูชา และซาอุดิอารเบีย นอกจากนี้ ตองกา ได้เสร็จสิ้นกระบวนการเข้าสมัครเป็นสมาชิก WTO  แล้ว แต่ยังรอการภาคยานุวัติก่อนการเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 อย่างเป็นทางการ

วัตถุประสงค์ WTO


          WTO มีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป (progressive liberalization) ตามความพร้อมของประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก กฎกติกาต่างๆ ของ WTO ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment: S&D) เพื่อให้สามารถเข้าร่วมในระบบการค้าพหุภาคีได้ WTO จึงเป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง จะมีการเจรจาเพื่อพัฒนาและสร้างกฎกติกาใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรองรับกับวิวัฒนาการของการค้าระหว่างประเทศและรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง

          การเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิและพันธกรณี (Rights and Obligations) ที่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ความตกลงต่างๆ ของ WTO กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของ WTO นอกจากช่วยส่งเสริมให้การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้ง ผู้ค้าและผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้

อ่านต่อที่นี่ http://guru.sanook.com/4056/





IMF คืออะไร

IMF คืออะไร


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 จากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือ ที่รู้จักดีในนามของ Bretton Woods Conference โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และและมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ

ข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (http:www.imf.org/external/np/exr/facts/gabnab.htm) กำหนดให้กองทุนการเงินฯ ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ  สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน

บทบาทหลัก

กองทุนการเงินฯ มีบทบาทหลักในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน  และความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ

การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ : กองทุนการเงินฯ ติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมหารือกับประเทศสมาชิกเป็นประจำ ( หรือ Article IV Consultation) ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดจัดประชุมทุกปี  โดยเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ จะไปเยือนประเทศสมาชิกเพื่อประเมินภาวะและเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก รวมทั้งให้คำแนะนำนโยบาย
ทั้งนี้ กองทุนการเงินฯ จะรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อนำมาประเมินภาวะเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยจะเผยแพร่ผลการประเมินทุกครึ่งปีในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) และรายงานเสถียรภาพการเงินโลก (Global Financial Stability Report)

ความช่วยเหลือทางการเงิน : กองทุนการเงินฯ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินเพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโครงการเงินกู้ (facilities) ประเภทต่างๆ ซึ่งประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องดำเนินนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินตามที่กำหนดในจดหมายแสดงเจตจำนง (Letter of Intent)  เงินทุนของโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินฯ ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ ดังนั้น ความสามารถในการให้กู้ของกองทุนการเงินฯ จึงกำหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก  อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินฯ สามารถกู้ยืมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งจำนวนหนึ่งภายใต้ความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ (General Arrangements to Borrow - GAB) และความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow - NAB) (http://www.imf.org/external/np/exr/facts/gabnab.htm)

ความช่วยเหลือทางวิชาการ : กองทุนการเงินฯ ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกในการกำหนดและดำเนินนโยบาย 4 ด้านหลัก คือ
1) นโยบายการเงินและนโยบายสถาบันการเงิน 2) นโยบายการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ 3) สถิติข้อมูล และ 4) กฎหมายเศรษฐกิจการเงิน  นอกจากนี้ กองทุนการเงินฯ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนาสำหรับประเทศสมาชิกที่สถาบันฝึกอบรมของกองทุนการเงินฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และสถาบันฝึกอบรมในภูมิภาคต่างๆ (ออสเตรเลีย บราซิล สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย สิงคโปร์ ตูนิเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรต)


อ่านต่อที่นี่  https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Pages/IMF.aspx








AEC คืออะไร

AEC คืออะไร



AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)

Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว

AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆ ดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)

อ่านต่อที่นี่  http://www.thai-aec.com/41#ixzz2YnP3JYxn







วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle : IMT - GT)

        
   สามเหลี่ยมเศรษฐกิจหรือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle : IMT - GT)  เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างภาตใต้ของไทย ภาคเหนือของมาเลเซีย และตอนเหนือของเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2536 

พื้นที่เป้าหมายโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

  • ประเทศไทย ในอดีตครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล แต่ในปัจจุบันได้ครอบคลุมถึงภาคใต้ทั้งหมด
  • มาเลเซีย ครอบคลุมพื้นที่ 4 รัฐทางภาคเหนือ คือ เคดาห์ ปะลิส เปรัก และปีนัง
  • อินโดนีเซีย ครอบคลุมพื้นที่ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา คือ อาเจะห์และสุมาตราเหนือ

วัตถุประสงค์ของเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

   เป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศ ในเฉพาะพื้นที่เป้าหมายที่กำหนด โดยมีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ ทรัพยากรทางทะเล และส่งเสริมความร่วมมือในการผลิตสินค้าและบริการ การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้
   โดยมีความร่วมมือในการพัฒนาสาขาหลัก ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน การเกษตร ประมง อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การค้าและศุลกากร การเงินและการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นต้น
   ทั้งนี้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มีแหล่งเงินทุนสนุบสนุนโครงการ คือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)

   กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation : APEC) เป็นการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค ในปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด โดยมีประชากรโดยรวมมากกว่ากลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ฮ่องกง ไต้หวัน ชิลี รัสเซีย เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เวียดนาม เปรู และไทย

วัตถุประสงค์ของเอเปก (APEC)

   โอเปกได้ส่งเสริมการค้าของโลกให้มีความเป็นเสรี โดยถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจกับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (EU) อันมีนโยบายปิดกั้นการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม

นโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเอเปก (APEC)

   มีการส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม โดยการลดอุปสรรคหรือข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด โดยสอดคล้องกับหลักขององค์การการค้าโลก (WTO) และส่งเสริมความร่วมมือ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการเงิน การคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
ปฏิญญาโบกอร์ (Bogor Declaration)
   ปฏิญญาโบกอร์ เป็นการกำหนดนโยบายหรือแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการประชุมผู้นำเอเปกครั้งที่ 2 ที่เมืองโบกอร์ (Bogor) ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อพ.ศ.2537 โดยมีนโยบาย 3 ประการ ได้แก่
1. เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (ภายในพ.ศ.2563 หรือค.ศ. 2020)
2. อำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
3. ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ

   องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่มีน้ำมันปิโตรเลียมเป็นสินค้าส่งออก เพื่อร่วมมือกันกำหนดนโยบายน้ำมัน รักษาระดับการค้าน้ำมันให้เป็นธรรมและเกิดความมั่นคงต่อประเทศผู้ผลิต
   องค์การโอเปก ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2503 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศออสเตรีย กรุงเวียนนา มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย อิรัก อิหร่าน คูเวต และเวเนซูเอลา
   โอเปก (OPEC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอำนาจสูง ทั้งด้วยเศรษฐกิจและการเมืองของโลก มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20  เพราะพลังงานมีความสำคัญ โดยเฉพาะน้ำมัน ที่ทุกประเทศจำเป็นต้องใช้เป็นเชื้อเพลิง

วัตถุประสงค์ขององค์การโอเปก (OPEC)

   เป็นการร่วมมือกันกำหนดราคาและจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อป้องกันมิให้อุปทานของน้ำมันในตลาดโลกสูงจนเกินไป จนทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำได้

ปัญหาขององค์การโอเปกในปัจจุบัน

   องค์การโอเปกในปัจจุบัน มีความขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียว (เอกภาพ) อันเนื่องมาจากประเทศสมาชิกบางประเทศไม่เคารพและปฏิบัติตามนโยบายขององค์การ โดยมีการผลิตน้ำมันเกินโควต้าและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าโอเปกกำหนด จึงทำให้อำนาจความเข้มแข็งและพลังต่อรองของโอเปกลดลง


    สหภาพยุโรป (European Union : EU) เป็นการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของทวีปยุโรป โดยพัฒนามาจากประชาคมยุโรป (European Community : EC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500
   ต่อมาประเทศสมาชิกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ (Treaty of Maastricht) เพื่อจัดตั้งเป็นสหภาพยุโรป โดยมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
   โดยประเทศที่เป็นสมาชิกดั้งเดิม ซึ่งเป็นชาติร่วมก่อตั้งประชาคมยุโรป (EC) มี 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส เยอรมันและอิตาลี และสมาชิกตามมาภายหลังอีกหลายประเทศภายในทวีปยุโรป
หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศอังกฤษ (England) ได้มีการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2559

ความสำคัญของสหภาพยุโรป

   สหภาพยุโรป (EU) เป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน โดยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีพลังและอำนาจต่อรองสูง รวมทั้งเป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน แหล่งที่มาของการลงทุนและเป็นประเทศแม่ของบรรษัทข้ามชาติจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

นโยบายทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (EU)

1. นโยบายการค้าเน้นระบบการค้าเสรีโดยดำเนินการ ดังนี้
1.1 ยกเลิกภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียมที่เก็บจากการนำเข้าและส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จัดเก็บในอัตราต่ำหรือไม่เก็บเลย ในบางรายการถือว่าสหภาพเป็นเสรีในสินค้าอุตสาหกรรมโดยได้ทำสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าไปแล้วหลายประเทศ เช่น อียิปต์ ตุรกี เม็กซิโกและแอฟริกาใต้
1.2 กำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรของประเทศสมาชิกให้เป็นอัตราเดียวเพื่อให้มีฐานะเป็นสหภาพศุลกากร
2. นโยบายการเกษตรเป็นผลดีต่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป แต่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรใน ตลาดโลก โดยนโยบายการเกษตรของสหภาพยุโรป ได้แก่
2.1 ให้มีการค้าเสรีสินค้าเกษตรภายในกลุ่ม โดยไม่ต้องเก็บภาษีนำเข้าเพื่อให้มีราคาที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
2.2 ผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ประกันรายได้ให้เกษตรกรในกลุ่มสหภาพยุโรปโดยกำหนดราคาประกันผลผลิตไว้สูงกว่าราคาในตลาดโลกและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับสินค้าเกษตรจากประเทศนอกกลุ่มเพื่อให้สินค้ามีราคาสูงทำให้ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้
2.4 จ่ายเงินอุดหนุนการเกษตรให้แก่เกษตรกรในสหภาพยุโรปทำให้สินค้าเกษตรทั่วโลกมีราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก
3. นโยบายการเงิน สหภาพยุโรปมีนโยบายการเงิน นั้นได้กำหนดให้ใช้เงินสกุลเดียวกันที่เรียกว่า เงินยูโร กำหนดให้มีธนาคารกลางร่วมกัน หรือธนาคารกลางของสหภาพยุโรป ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพของเงินตรา

ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย

    สหภาพยุโรป (EU) เป็นตลาดสินค้าที่สำคัญของไทย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นสินค้าทางการเกษตรและสินค้าที่เป็นอาหาร แต่มักมีปัญหาในด้านกฎระเบียบของประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มักพบสารเคมีตกค้างจากยาปราบศัตรูพืชและเชื้อราในพืชผักผลไม้ หรือพบอาหารบรรจุกระป๋องที่ชำรุด เป็นต้น โดยสหภาพยุโรปนั้น มุ่งเน้นนโยบายการค้าเสรีกับประเทศสมาชิก จึงทำให้มีการกีดกันทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม ซึ่งนั้นทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ด้วยเช่นกัน