สหภาพยุโรป (European Union : EU) เป็นการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของทวีปยุโรป โดยพัฒนามาจากประชาคมยุโรป (European Community : EC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500
ต่อมาประเทศสมาชิกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ (Treaty of Maastricht) เพื่อจัดตั้งเป็นสหภาพยุโรป โดยมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
โดยประเทศที่เป็นสมาชิกดั้งเดิม ซึ่งเป็นชาติร่วมก่อตั้งประชาคมยุโรป (EC) มี 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส เยอรมันและอิตาลี และสมาชิกตามมาภายหลังอีกหลายประเทศภายในทวีปยุโรป
หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศอังกฤษ (England) ได้มีการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2559
ความสำคัญของสหภาพยุโรป
สหภาพยุโรป (EU) เป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน โดยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีพลังและอำนาจต่อรองสูง รวมทั้งเป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน แหล่งที่มาของการลงทุนและเป็นประเทศแม่ของบรรษัทข้ามชาติจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนโยบายทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (EU)
1. นโยบายการค้าเน้นระบบการค้าเสรีโดยดำเนินการ ดังนี้1.1 ยกเลิกภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียมที่เก็บจากการนำเข้าและส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จัดเก็บในอัตราต่ำหรือไม่เก็บเลย ในบางรายการถือว่าสหภาพเป็นเสรีในสินค้าอุตสาหกรรมโดยได้ทำสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าไปแล้วหลายประเทศ เช่น อียิปต์ ตุรกี เม็กซิโกและแอฟริกาใต้
1.2 กำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรของประเทศสมาชิกให้เป็นอัตราเดียวเพื่อให้มีฐานะเป็นสหภาพศุลกากร
2. นโยบายการเกษตรเป็นผลดีต่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป แต่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรใน ตลาดโลก โดยนโยบายการเกษตรของสหภาพยุโรป ได้แก่
2.1 ให้มีการค้าเสรีสินค้าเกษตรภายในกลุ่ม โดยไม่ต้องเก็บภาษีนำเข้าเพื่อให้มีราคาที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
2.2 ผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ประกันรายได้ให้เกษตรกรในกลุ่มสหภาพยุโรปโดยกำหนดราคาประกันผลผลิตไว้สูงกว่าราคาในตลาดโลกและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับสินค้าเกษตรจากประเทศนอกกลุ่มเพื่อให้สินค้ามีราคาสูงทำให้ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้
2.4 จ่ายเงินอุดหนุนการเกษตรให้แก่เกษตรกรในสหภาพยุโรปทำให้สินค้าเกษตรทั่วโลกมีราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก
3. นโยบายการเงิน สหภาพยุโรปมีนโยบายการเงิน นั้นได้กำหนดให้ใช้เงินสกุลเดียวกันที่เรียกว่า เงินยูโร กำหนดให้มีธนาคารกลางร่วมกัน หรือธนาคารกลางของสหภาพยุโรป ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพของเงินตรา
ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย
สหภาพยุโรป (EU) เป็นตลาดสินค้าที่สำคัญของไทย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นสินค้าทางการเกษตรและสินค้าที่เป็นอาหาร แต่มักมีปัญหาในด้านกฎระเบียบของประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มักพบสารเคมีตกค้างจากยาปราบศัตรูพืชและเชื้อราในพืชผักผลไม้ หรือพบอาหารบรรจุกระป๋องที่ชำรุด เป็นต้น โดยสหภาพยุโรปนั้น มุ่งเน้นนโยบายการค้าเสรีกับประเทศสมาชิก จึงทำให้มีการกีดกันทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม ซึ่งนั้นทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น