ประกาศ

บล็อกนี้เป็นเว็บไซต์สำหรับการศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

IMF คืออะไร

IMF คืออะไร


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 จากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือ ที่รู้จักดีในนามของ Bretton Woods Conference โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และและมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ

ข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (http:www.imf.org/external/np/exr/facts/gabnab.htm) กำหนดให้กองทุนการเงินฯ ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ  สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน

บทบาทหลัก

กองทุนการเงินฯ มีบทบาทหลักในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน  และความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ

การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ : กองทุนการเงินฯ ติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมหารือกับประเทศสมาชิกเป็นประจำ ( หรือ Article IV Consultation) ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดจัดประชุมทุกปี  โดยเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินฯ จะไปเยือนประเทศสมาชิกเพื่อประเมินภาวะและเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก รวมทั้งให้คำแนะนำนโยบาย
ทั้งนี้ กองทุนการเงินฯ จะรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อนำมาประเมินภาวะเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยจะเผยแพร่ผลการประเมินทุกครึ่งปีในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) และรายงานเสถียรภาพการเงินโลก (Global Financial Stability Report)

ความช่วยเหลือทางการเงิน : กองทุนการเงินฯ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินเพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโครงการเงินกู้ (facilities) ประเภทต่างๆ ซึ่งประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องดำเนินนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินตามที่กำหนดในจดหมายแสดงเจตจำนง (Letter of Intent)  เงินทุนของโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินฯ ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ ดังนั้น ความสามารถในการให้กู้ของกองทุนการเงินฯ จึงกำหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก  อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินฯ สามารถกู้ยืมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งจำนวนหนึ่งภายใต้ความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ (General Arrangements to Borrow - GAB) และความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow - NAB) (http://www.imf.org/external/np/exr/facts/gabnab.htm)

ความช่วยเหลือทางวิชาการ : กองทุนการเงินฯ ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกในการกำหนดและดำเนินนโยบาย 4 ด้านหลัก คือ
1) นโยบายการเงินและนโยบายสถาบันการเงิน 2) นโยบายการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ 3) สถิติข้อมูล และ 4) กฎหมายเศรษฐกิจการเงิน  นอกจากนี้ กองทุนการเงินฯ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนาสำหรับประเทศสมาชิกที่สถาบันฝึกอบรมของกองทุนการเงินฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และสถาบันฝึกอบรมในภูมิภาคต่างๆ (ออสเตรเลีย บราซิล สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย สิงคโปร์ ตูนิเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรต)


อ่านต่อที่นี่  https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Pages/IMF.aspx








1 ความคิดเห็น:

  1. กำลังมองหาคาสิโนออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อเล่นอยู่ใช่ไหม? ตอนนี้คุณสามารถค้นหาคาสิโนออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบของคุณได้พร้อมคำวิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ joker asia แนวทางที่เข้มงวดและพิถีพิถันในการเขียนรีวิวคาสิโนออนไลน์ที่ดีที่สุดนั้นแตกต่างจากเว็บไซต์ทบทวนคาสิโนออนไลน์อื่นๆ มากมาย เริ่มต้นด้วยการสร้างบัญชีกับเว็บไซต์ที่มีปัญหา คาสิโนที่ถูกกฎหมายควรเสนอวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดให้เลือก จำเป็นอย่างยิ่งที่วิธีการชำระเงินเหล่านี้ต้องพร้อมใช้และใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศที่คาสิโนกำหนดเป้าหมาย ไซต์นี้คาดหวังให้คุณสามารถฝากและถอนเงินได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย สำหรับการตรวจสอบ ความเร็วในการถอนเงินเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขาวัดเวลาถอนสำหรับคาสิโนออนไลน์แต่ละแห่งที่พวกเขาประเมิน หากพวกเขาไม่ได้รับเงินภายในเวลาที่กำหนดโดยคาสิโน พวกเขาจะลงโทษคาสิโนนั้นโดยลดอันดับโดยรวมลง ในตอนท้าย - เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์สองสามข้อ ก่อนลงทะเบียน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการฝากและถอนเงินที่คุณเลือกมีให้บริการที่คาสิโน

    ตอบลบ