ประกาศ

บล็อกนี้เป็นเว็บไซต์สำหรับการศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

   กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation : APEC) เป็นการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค ในปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด โดยมีประชากรโดยรวมมากกว่ากลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ฮ่องกง ไต้หวัน ชิลี รัสเซีย เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เวียดนาม เปรู และไทย

วัตถุประสงค์ของเอเปก (APEC)

   โอเปกได้ส่งเสริมการค้าของโลกให้มีความเป็นเสรี โดยถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจกับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (EU) อันมีนโยบายปิดกั้นการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม

นโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเอเปก (APEC)

   มีการส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม โดยการลดอุปสรรคหรือข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด โดยสอดคล้องกับหลักขององค์การการค้าโลก (WTO) และส่งเสริมความร่วมมือ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการเงิน การคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
ปฏิญญาโบกอร์ (Bogor Declaration)
   ปฏิญญาโบกอร์ เป็นการกำหนดนโยบายหรือแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการประชุมผู้นำเอเปกครั้งที่ 2 ที่เมืองโบกอร์ (Bogor) ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อพ.ศ.2537 โดยมีนโยบาย 3 ประการ ได้แก่
1. เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (ภายในพ.ศ.2563 หรือค.ศ. 2020)
2. อำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
3. ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น