องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO ) เป็นองค์กรที่พัฒนามาจาก GATT หรือข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ซึ่งเป็นองค์การนานาชาติที่สังกัดอยู่ในองค์การสหประชาชาติ (UN)
องค์การการค้าโลก ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเสรี กำจัดปัญหาและอุปสรรคทางด้านการค้า และปฏิบัติต่อประเทศสมาชิกด้วยความเป็นธรรม โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง WTO ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538
นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. ให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ คือ การที่แต่ละประเทศจะเรียกเก็บภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียมจากประเทศสมาชิก จะต้องใช้อัตราเดียวกันหรือมีมาตรการทางการค้าที่เหมือนกัน เป็นต้น2. ต้องไม่ใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าและส่งออกสินค้าทุกชนิด เว้นแต่ใช้เพื่อแก้ปัญหาดุลการชำระเงินหรือดูแลรักษาสุขภาพของของประชาชน เป็นต้น
3. ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ เพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าระหว่างกัน
4. ให้มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ
5. ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)
1. การมีกฏเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศนั้น ทำให้การค้าระหว่างประเทศของโลกมีระเบียบมากขึ้น สมาชิกจะไ่ม่สามารถกำหนดมาตราฐานสินค้าได้ตามอำเภอใจ การกีดกันทางการค้าของโลกจึงลดลง การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนของไทย ในการที่จะขยายการลงทุนและการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น2. มีโอกาสทางการค้าและมีตลาดส่งออกมากขึ้น เนื่องจากสมาชิกของ WTO มีจำนวนมากขึ้นทุกปี โดยประเทศเหล่านี้ก็ได้ผูกพันที่จะลดภาษี ยกเลิกหรือลดการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆลง ทำให้ไทยมีโอกาสทางการค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราภาษีและอุปสรรคที่สินค้าออกของไทยต้องเผชิญ มีแนวโน้มลดลงด้วย
3. มีอำนาจในการต่อรองทางการค้ามากขึ้น ในการเจรจาสองฝ่าย ประเทศเล็กมักจะเสียเปรียบประเทศใหญ่กว่า เนื่องจากประเทศเล็กมักมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า และมักถูกประเทศใหญ่กว่ากดดัน จนต้องยอมปฏิบัติตาม แต่ในระบบการค้าพหุภาคีสมาชิกทุกประเทศมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน
ดังนั้น การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกของไทย ทำให้ไทยมีอำนาจในการต่อรองทางการค้าเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยได้มากขึ้น นอกจากนั้น ไทยยังสามารถรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มประเทศสมาชิกอื่นๆ แสดงจุดยืนร่วมกันเพื่อเพิ่มพลังต่อรองทางการค้าได้ด้วย
4. มีอำนาจในการตรวจสอบนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้ามากขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วจะถูกตรวจสอบทุก 2 ปี ประเทศกำลังพัฒนาถูกตรวจสอบทุกๆ 4 ปี และที่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดถูกตรวจสอบทุกๆ 6 ปี ดังนั้นไทยจึงมีสิทธิและมีโอกาสที่จะตรวจสอบนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าว่าสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของ WTO และอุปสรรคต่อการส่งออกของไทยหรือไม่อย่างไร หากพบว่าไม่สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของWTOและกระทบต่อผลประโยชน์ของไทย ไทยก็สามารถนำขึ้นฟ้องร้องได้
5. ผู้บริโภคของไทยมีทางเลือกมากขึ้น ประเทศไทยและประเทศสมาชิกจะต้องเปิดตลาดให้สินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น ด้วยการลดภาษีและอุปสรรคทางการค้าลง จึงทำให้ผู้บริโภคของไทยมีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและราคาที่หลากหลายให้เลือกซื้อกันมากขึ้น
6. ต้นทุนการผลิตลดลง การลดภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า จะทำให้วัตถุดิบที่นำเข้ามีราคาลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคาสินค้าสำเร็จรูปและบริการในประเทศมีราคาลดลง ในแง่ของสินค้าการเกษตรประเทศคู่แข่งของไทยนอกจากจะเปิดตลาดให้แก่สินค้าเกษตรมากขึ้นแล้ว ยังจะต้องลดการให้เงินอุดหนุนเกษตรกรภายในประเทศ และลดการให้เงินอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรลง ซึ่งจะทำให้ไทยมีความได้เปรียบในแง่ของการแข่งขัน เนื่องจากไทยมีต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงกว่า
7. มีการจ้างงานมากขึ้น การส่งออกที่มากขึ้นจะช่วยนำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มีการลงทุนและการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่ม ขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ผลกระทบที่ไทยได้รับจากการเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)
1. รายได้ของรัฐจากภาษีศุลกากรขาเข้าลดลง เพราะประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ที่จะต้องลดหย่อนอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกต่างๆ2. สินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ จะเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย เนื่องมาจากอุตสาหกรรมในประเทศไทยหลายรายการยังไม่มีความเข้มแข็งพอ ประกอบกับอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งในด้านคุณภาพและราคา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น