ประกาศ

บล็อกนี้เป็นเว็บไซต์สำหรับการศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สาเหตุของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

   การรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้เกิดขึ้นมากมายในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
    ประเทศในภูมิภาคต่างๆ มักมีการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจในรูปแบบการรวมกลุ่มเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งด้านการค้า การลงทุน หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ตลอดจนการสร้างองค์กรให้มีอำนาจต่อรองที่เข้มแข็ง เพื่อให้ได้เปรียบประเทศนอกกลุ่มหรือชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ
2. การแข่งขัน
   การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศที่มีสินค้าส่งออกชนิดเดียวกันหรือระหว่างประเทศเกษตรกรรมกับประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศที่ผลิตสินค้าทางการเกษตรต่างๆ จะมีมูลค่าของสินค้าน้อยกว่าและมักจะเสียเปรียบ ทำให้ขาดดุลการค้าเกือบทุกปี ดังนั้น จึงต้องมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการค้ากับประเทศคู่ค้า และสามารถแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มที่เข้มแข็งกว่าได้
3. ความขัดแย้ง
   โดยสาเหตุของความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมี ๒ ประการ อันได้แก่ 
 - การมีทรัพยากรที่จำกัด โดยเฉพาะที่เป็นแหล่งน้ำ แร่ธาตุต่างๆ หรือการประมงทางทะเล ทำให้เกิดความขัดแย้ง จึงมีการปะทะกันตามแนวชายเเดนเพื่อแย่งชิงทรัพยากรระหว่างกัน
 - ความขัดแย้งทางผลประโยชน์การค้า ดังกรณีที่มีประเทศหนึ่งมีสิทธิทางการค้ามากกว่าอีกประเทศหนึ่ง เช่น มีภาษีนำเข้าสินค้าที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ อย่างกรณีไทยกับสหภาพยุโรป(EU) เมื่อปี พ.ศ.2544 จึงได้มีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมองค์การการค้าโลก (WTO)
4. การประสานผลประโยชน์
   เป็นการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย เป็นการร่วมมือเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการทำสัญญาข้อตกลง เพื่อร่วมมือและแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ระงับความขัดแย้งที่เกิดจากการแข่งขันทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หรือการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการประสานผลประโยชน์ ที่จะทำให้ประเทศสมาชิกได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน
5. การกีดกันทางการค้า
   เป็นการกีดกันมิให้สินค้าจากประเทศอื่นๆ เข้ามาแข่งขันกับสินค้า ที่ผลิตขึ้นในประเทศ นั่นก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศ ทำให้ส่งเสริมการจ้างงานให้คนในประเทศมีงานทำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดุลการค้า และเพื่อป้องกันมิให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาด โดยจะมีวิธีการ คือ การตั้งกำแพงภาษี การเก็บภาษีหลายอัตราหรือการกำหนดข้อจำกัดทางการค้า เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น